ชนไก่ ไก่ชน

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 0-6 สัปดาห์

                ลูกไก่ที่จะเลี้ยงขุนขายเนื้อส่งตลาด หรือพวกที่เลี้ยงไว้ทำพันธุ์ในอนาคตนั้น จำเป็นต้องมีการดูแลและเลี้ยงดูอย่างดี เริ่มจากลูกไก่ออกจากตู้ฟัก ให้ทำการตัดปากบนออก 1 ใน3 แล้วนำไปกกด้วยเครื่องกกลูกไก่เพื่อให้ไก่อบอุ่นด้วยอุณหภูมิ 95 องศา F ในสัปดาห์ที่ 1 แล้วลดอุณหภูมิลงสัปดาห์ละ 5 องศา F กกลูกไก่เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์
                ลูกไก่ 1 ตัว ต้องการพื้นที่ในห้องกกลูกไก่ 0.5 ตารางฟุต หรือเท่ากับ 22 ตัว/ตารางเมตร การกกลูกไก่ให้ดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าหากอากาศร้อนเกินไปให้ดับไฟกก เช่น กลางวันใกล้เที่ยงและบ่ายๆ ส่วนกลางคืนจะต้องให้ไฟกกตลอดคืน ในระหว่างกกจะต้องมีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา และว่างอยู่ใกล้รางอาหาร ทำความสะอาดภาชนะใส่น้ำวันละ 2 ครั้ง คือเช้าและบ่าย ลูกไก่ 100 ตัว ต้องการรางอาหารที่กินได้ทั้งสองข้างยาว 6 ฟุต และขวดน้ำขนาด 1 แกลลอน จำนวน 3 ขวด ทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ และโรคฝีดาษ เมื่อลูกไก่อายุ 1-7 วัน
                การให้อาหารลูกไก่ ระยะกก (1-14 วันแรก) ควรให้อาหารบ่อยครั้งใน 1 วัน อาจแบ่งเป็นตอนเช้า 2 ครั้ง ตอนบ่าย 2 ครั้ง และตอนค่ำอีก 1 ครั้ง การให้อาหารบ่อยครั้งจะช่วยกระตุ้นให้ไก่กินอาหารดีขึ้น อีกทั้งอาหารจะใหม่สดเสมอ จำนวนอาหารที่ให้ต้องไม่ให้อย่างเหลือเฟือจนเหลือล้นราง ซึ่งเป็นเหตุให้ตกหล่นมาก ปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละสัปดาห์และน้ำหนักไก่โดยเฉลี่ยแสดงในตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1  น้ำหนักและจำนวนอาหารผสมที่ใช้เลี้ยงลูกไก่พื้นเมืองอายุ 0-6 สัปดาห์
อายุลูกไก่
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว)
อัตราแลกเนื้อ
(กก.)
การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
สัปดาห์ที่ 1
สัปดาห์ที่ 2
สัปดาห์ที่ 3
สัปดาห์ที่ 4
สัปดาห์ที่ 5
สัปดาห์ที่ 6
49
76
115
185
250
370
7
11
21
30
32
33
0.86
1.46
2.18
2.45
2.46
2.48
 -  หยอดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล หลอดลมอักเสบติดต่อ ฝีดาษ
     เมื่ออายุ 1-7 วัน
 -  อัตราการตายไม่เกิน 3%
 -  ชั่งน้ำหนักเฉลี่ยเมื่อสิ้นสัปดาห์โดยการสุ่มตัวอย่าง 10% เพื่อหา
     ค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบกับตารางมาตรฐาน

ตารางที่ 2   ส่วนประกอบของอาหารลูกไก่พื้นเมือง อายุ 0-6 สัปดาห์
ส่วนประกอบในอาหาร
%ในอาหารผสม
สูตรอาหารผสม (กก.)
วัตถุดิบ
1
2
โปรตีน
กรดอะมิโนที่จำเป็น
ไลซีน
เมทไธโอนีน + ซีสตีน
ทริปโตเฟน
ทริโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน + ไทโรซีน
ฮีสติดีน
เวลีน
ไกลซีน + เซรีน
คุณค่าทางโภชนาการ
พลังงานใช้ประโยชน์ได้
(กิโลแคลอรี/กก.)
แคลเซียม
ฟอสฟอรัส
เกลือ
ไวตามิน + แร่ธาติ
18

0.95
0.63
0.20
0.69
0.81
1.15
1.65
1.55
0.46
0.94
0.70


2,900
0.80
0.40
05.0
++

ข้าวโพด
รำละเอียด
กากถั่วเหลือง
ใบกระถินป่น
ปลาป่น (55%)
เปลือกหอย
ไดแคลเซียม
เกลือ
พรีมิกซ์ลูกไก่
สมุนไพร (กรัม)
รวม







63.37
10.00
10.88
4.00
10.00
1.00
-
0.50
0.25
180
100







56.75
15
21
-
5
0.5
1.0
0.5
0.25
180
100







หมายเหตุ
1. ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และปลายข้าว ใช้แทนกันได้
2. ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ก่อนใช้แช่น้ำเดือด นาน 15-20 นาที ตากแดดและบดผสมอาหารต่อไป
3. สมุนไพร 180 กรัม ผสมจากฟ้าทะลายโจร 144 กรัม + ขมิ้น 2 กรัม + ไพล 29 กรัม เป็นน้ำหนักแห้ง

 

การเลี้ยงไก่พื้นเมืองอายุ 7-16 สัปดาห์

                การเลี้ยงไก่ระยะเจริญเติบโตระหว่าง 7-16 สัปดาห์ เป็นการเลี้ยงบนพื้นดินปล่อยฝูงๆ ละ 100-200 ตัว ในอัตราส่วนไก่ 1 ตัว ต่อพื้นที่ 1.4 ตารางฟุต หรือไก่ 8 ตัว ต่อตารางเมตร พื้นคอกรองด้วยแกลบหรือวัสดุดูดซับความชื้นได้ดี การเลี้ยงไก่ระยะนี้ไม่ต้องแยกไก่ตัวผู้ออกจากไก่ตัวเมีย เลี้ยงปนกัน การเลี้ยงที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขายเป็นไก่เนื้อพื้นเมือง จะต้องเลี้ยงแบบให้กินอาหารเต็มที่ มีอาหารในถังและรางอาหารตลอดเวลา เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้ได้น้ำหนักตามที่ตลาดต้องการ ให้น้ำสะอาดกินตลอดเวลา ทำความสะอาดขวดน้ำ วันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและบ่าย ลูกไก่ระยะนี้ต้องการรางอาหารที่มีลักษณะยาวที่กินได้ทั้งสองข้าง ยาว 4 นิ้วต่อไก่ 1 ตัว หรือรางอาหารชนิดถึงที่ใช้แขวนจำนวน 3 ถังต่อไก่ 100 ตัว ต้องการรางน้ำอัตโนมัติยาว 4 ฟุต หรือน้ำ 24-32 ลิตร ต่อไก่ 100 ตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล ฉีดเมื่อลูกไก่อายุครบ 8 สัปดาห์
                แต่สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่กว้าง เช่น ในไร่นา หรือที่สวนปลูกไม้ผลหรือมีแปลงหญ้า ก็สามารถเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติแล้วเสริมอาหารผสมในเวลาเย็นใกล้ค่ำ และงดให้อาหารเช้าเพื่อบังคับให้ไก่ไปหากินเอง ถ้าเราให้อาหารเช้าไก่จะไม่ออกหากิน ดังนั้นจึงเปลี่ยนให้อาหารเวลาเย็นเวลาเดียวให้กินจนอิ่มเต็มกระเพาะ ส่วนน้ำจะต้องมีให้กินตลอดเวลา ทำการป้องกันโรคระบาดนิวคาสเซิลโดยการฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 16 สัปดาห์

ตารางที่ 3   แสดงน้ำหนักมีชีวิตและจำนวนอาหารที่เลี้ยงของไก่รุ่นพื้นเมืองอายุ 7-16 สัปดาห์
อายุลูกไก่
(สัปดาห์)
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว)
อัตราแลกเนื้อ
(กก.)
การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
443
363
676
872
901
1,146
1,248
1,386
1,490
1,689
38
55
50
55
57
64
66
69
73
80
2.50
2.56
2.62
2.75
2.79
2.80
2.97
3.21
3.46
3.50
 -  ตัดปากไก่ 1/3



 -  ฉีดวัคซีนเอ็มพี  และอหิวาต์ไก่
    พร้อมหยอดวัคซีนหลอดลม
     อักเสบติดต่อ
 -  ให้แสงสว่างไม่เกินวันละ 12 ชั่วโมง
 -  เปลี่ยนวัสดุรองพื้นทุกๆ รุ่น     
    ที่นำไก่รุ่นใหม่เข้ามาเลี้ยง
ตารางที่ 4   ส่วนประกอบของอาหารผสมสำหรับไก่รุ่นพื้นเมืองเพศผู้และเพศเมีย อายุ 6-17 สัปดาห์
ส่วนประกอบในอาหาร
%ในอาหารผสม
สูตรอาหารผสม (กก.)
วัตถุดิบ
1
2
โปรตีน
กรดอะมิโนที่จำเป็น
ไลซีน
เมทไธโอนีน + ซีสตีน
ทริปโตเฟน
ทริโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน + ไทโรซีน
ฮีสติดีน
เวลีน
ไกลซีน + เซรีน
คุณค่าทางโภชนาการ
พลังงาน (M.E.Kcal/Kg)
แคลเซียม
ฟอสฟอรัส
เกลือ
14.4

0.69
0.54
0.15
0.54
0.62
0.87
1.42
1.24
0.38
0.76
0.58

2,900-3,000
0.85
0.53
0.50
ข้าวโพด
รำละเอียด
ใบกระถินป่น
กากถั่วเหลือง 44%
ถั่วเหลืองเมล็ด
ปลาป่น 55%
เปลือกหอยป่น
ไดแคลเซียมฟอสเฟต
เกลือป่น
พรีมิกซ์
สมุนไพร (กรัม)
รวม




73.00
5
4
12.25
-
3
1
1
0.5
0.25
180
100




63.75
18
-
11
-
5
0.5
1.0
0.5
0.25
180
100




  หมายเหตุ
1. ปลายข้าว ข้าวโพดและข้าวเปลือกใช้แทนกันได้
2. ถั่วเหลืองเม็ดต้องต้มสุกก่อนใช้
3. สมุนไพร 180 กรัม ผสมจากฟ้าทะลายโจร 144 กรัม + ขมิ้น 2 กรัม + ไพล 29 กรัม เป็นน้ำหนักแห้ง

 

การเลี้ยงไก่สาวอายุ 17-26 สัปดาห์

            การเลี้ยงไก่สาว อายุ 17-26 สัปดาห์ เลี้ยงในคอกบนพื้นดินเลี้ยงปล่อยเป็นฝูงๆ ละ 100-150 ตัว พื้นที่ 1 ตารางเมตร เลี้ยงไก่สาวได้ 5-6 ตัว ขั้นตอนต่อไปนี้ให้ถ่ายพยาธิภายในด้วยยาประเภทพิพเพอราซิน ชนิดเม็ดทุกๆ ตัวๆ ละ 1 เม็ด สุดท้ายคือ อาบน้ำยาให้ฆ่าเหาไรไก่ โดยใช้ยาฆ่าแมลงชนิดผงชื่อ เซฟวิน 85 ตวงยา 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใช้ยาชุนโทนหรือนูกาวอนก็ได้  นำไก่ลงจุ่มน้ำ ถูให้ขนเปียกจนถั่วลำตัว และก่อนนำไก่ขึ้นจากน้ำยา ก็ให้จับหัวไก่จุ่มลงในน้ำก่อนหนึ่งครั้งเป็นอันเสร็จวิธีการฆ่าเหาไรไก่
            การเลี้ยงไก่สาวระยะนี้จะต้องมีการควบคุมจำนวนอาหารที่ให้กิน สุ่มชั่งน้ำหนักทุกๆ สัปดาห์ เปรียบเทียบตารางมาตราฐาน ให้น้ำกินตลอดเวลา คัดไก่ป่วยออกจากฝูงเมื่อเห็นไก่แสดงอาการผิดปกติ ทำความสะอาดคอกและกลับแกลบหรือวัสดุรองพื้นเสมอๆ เมื่อเห็นว่าพื้นคอกเปียกชื้น แฉะ การรักษาพื้นคอกไม่ให้ชื้น และแห้งอยู่เสมอๆ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไก่ ไก่จะแข็งแรง เลี้ยงง่าย ตายยาก เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่เกษตรกรควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ และไม่จำเป็นจะต้องใช้ยามาก ดังนั้นในทางปฏิบัติ จึงต้องสร้างคอกไก่ให้สามารถระบายอากาศได้ดี มีลมผ่านพัดความชื้นออกไป และมีอากาศเย็น และสดชื่นเข้ามาแทน คอกไก่ไม่ควรจะมืดทึบ อับลม อับแสง
            สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่เลี้ยงกว้าง เช่น ในไร่นา สวน สามารถปล่อยไก่ได้ แนะนำให้ปล่อยหากินเองตามธรรมชาติจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารลงมาก เราเพียงเสริมอาหารเฉพาะในเวลาเย็นครั้งเดียวก็พอ เสริมในปริมาณ 70-75% ของอาหารที่เลี้ยงแบบขังคอก แต่จะต้องมีน้ำใส่ภาชนะให้ไก่ได้กินตลอดเวลา การเลี้ยงปล่อยแปลงไก่จะแข็งแรง และไม่จิกขนกัน ไก่จะดูสวยงามขนเป็นมัน เลี้ยงปล่อยแปลงไปจนกว่าแม่ไก่เริ่มไข่ จึงเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นอาหารไก่ไข่หรือไก่พันธุ์

การให้แสงสว่างแก่ไก่ในเล้าระยะนี้จะต้องให้ไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง ถ้าให้แสงสว่างมากกว่านี้จะทำให้ไก่ไข่เร็วขึ้นก่อนกำหนด และอัตราการไข่ทั้งปีไม่ไดี แต่จะดีเฉพาะใน 4 เดือนแรกเท่านั้น ดังนั้น แสงสว่างจึงต้องเอาใจใส่และจัดการให้ถูกต้อง กล่าวคือ ในเดือนที่เวลากลางวันยาว เช่น เดือนมีนาคม-ตุลาคม เราไม่ต้องให้แสงสว่างเพิ่มในเวลาหัวค่ำหรือกลางคืน โดยหลักการแล้ว แสงสว่างธรรมชาติ 8-12 ชั่วโมง เป็นใช้ได้ไม่ต้องเพิ่มไฟฟ้า ส่วนฤดูหนาวที่ตะวันตกดิน และมืดเร็ว จำเป็นจะต้องให้แสงสว่างเพิ่มแต่รวมแล้วไม่ให้เกิน 11-12 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มของแสงสว่างที่พอเหมาะคือ 1 ฟุตแคนเดิล ที่ระดับตัวไก่การให้อาหารไก่สาวแบบขังคอก จะต้องจำกัดให้ไก่สาวกินอาหารตามตารางที่ 5 พร้อมทั้งตรวจสอบน้ำหนักไก่ทุกๆ สัปดาห์ ให้อาหารวันละ 2 ครั้ง เวลา 07.00-08.00 น. และบ่ายเวลา 14.00-15.00 น.  ให้กินน้ำตลอดเวลา และทำความสะอาดรางน้ำเช้าและบ่ายเวลาเดียวกับที่ให้อาหาร อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่สาวเป็นอาหารที่มีโปรตีน 12%  พลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2,900 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 0.90%  ฟอสฟอรัส 0.45%  เกลือ 0.55%  และอุดมด้วยแร่ธาตุไวตามินที่ต้องการ (ตารางที่ 6)

ตารางที่ 5  แสดงน้ำหนักไก่สาว จำนวนอาหารที่จำกัดให้กินและวิธีการจัดการอื่นที่เกี่ยวข้องสำหรับไก่สาวอายุ 17-26 สัปดาห์


อายุลูกไก่
น้ำหนักตัว
(กรัม/ตัว)
จำนวนอาหารที่ให้
(กรัม/ตัว)
การจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
17
18
19
1,662
1,737
1,784
68
70
70
 -  ถ่ายพยาธิและอาบน้ำฆ่าเหาไรไก่ ก่อนแม่ไก่เริ่มไข่
 -  ให้แสงสว่างไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง
20
21
22
1,861
1,870
1,880
70
70
70
 -  แม่ไก่เริ่มไข่
23
24
25
26
1,889
1,898
1,980
1,981
80
80
80
80
จำกัดอาหารให้กินไม่เกินตัวละ 80 กรัม/ตัว/วัน

ตารางที่ 6  แสดงส่วนประกอบของอาหารไก่สาวอายุ 17-26 สัปดาห์ และสูตรอาหาร

โภชนะของอาหารผสม
%ในอาหาร
สูตรอาหารผสม (กก.)
วัตถุดิบ
1
2
3
โปรตีน
กรดอะมิโน
ไลซีน
เมทไธโอนีน + ซีสตีน
ทริปโตเฟน
ทริโอนีน
ไอโซลูซีน
อาร์จินีน
ลูซีน
เฟนิลอะลานีน + ไทโรซีน
รวม
เวลีน
ไกลซีน + เซรีน
คุณค่าทางโภชนะ
พลังงาน (M.E.Kcal/Kg)
แคลเซียม
ฟอสฟอรัส
เกลือ
12

0.53
0.48
0.12
0.45
0.49
0.68
1.27
1.01
100
0.64
0.47

2,900-3,000
0.90
0.45
0.50

ข้าวเปลือก
ข้าวโพด
รำละเอียด
กากถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองเม็ด
ปลาป่น
เปลือกหอยป่น
ไดแคลเซียมฟอสเฟต
เกลือป่น
พรีมิกซ์
สมุนไพร (กรัม)
รวม

-
76.00
10.00
7.00
-
-
1
1
0.25
0.50
180
100

-
67.5
20
5.0
-
5.0
0.5
1.0
0.5
0.25
180
100
62
-
18
-
16
-
1.20
1.70
0.50
0.25
180
100

หมายเหตุ
1. ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และปลายข้าว ใช้แทนกันได้
2. ถั่วเหลืองเม็ด ก่อนใช้ต้มให้สุกก่อน โดยแช่น้ำเดือดนาน 15-20 นาที
3. สมุนไพร 180 กรัม ผสมจากฟ้าทะลายโจร 144 กรัม + ขมิ้น 2 กรัม + ไพล 29 กรัม เป็นน้ำหนักแห้ง

 

การเลี้ยงไก่พ่อแม่พันธุ์อายุ 26-72 สัปดาห์

1. ไก่สาวจะเริ่มไข่ฟองแรกเมื่ออายุประมาณ 6-7 เดือน เมื่อไก่เริ่มไข่ให้เปลี่ยนสูตรอาหารใหม่ ให้มีโภชนะอาหารเพิ่มขึ้น เพื่อไก่นำไปสร้างไข่ รวมทั้งเพิ่มแคลเซียม จากเดิม 0.90% เป็น 3.75%  ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ 0.35%  เพื่อนำไปสร้างเปลือกไข่ (ตารางที่ 7)  ส่วนไก่พ่อพันธุ์นั้นให้อาหารเช่นเดียวกับแม่พันธุ์ แต่มีธาตุแคลเซียมต่ำกว่า คือ 0.90% และฟอสฟอรัส 0.45% เท่าๆ กับอาหารไก่รุ่นหนุ่มสาว เพราะไก่พ่อพันธุ์ไม่ไข่จึงไม่จำเป็นจะต้องให้แคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง และอีกประการหนึ่ง การให้ธาตุแคลเซียมสูงเช่นเดียวกับแม่พันธุ์หรือให้อาหารสูตรเดียวกับแม่พันธุ์นั้น มีผลต่อการผลิตน้ำเชื้อมีปริมาณลดลง มีเปอร์เซนต์การผสมติดลดลง ดังนั้นการจัดการที่ดีจึงควรแยกสูตรอาหารไก่พ่อแม่พันธุ์ จำนวนอาหารที่แม่ไก่กินอยู่ระหว่าง 70-80 กรัม/ตัว/วัน การให้อาหารมากกว่นี้ เช่น วันละ 90-100 กรัม แม่ไก่จะอ้วนมาก ไข่ลดลง

         2. แสงสว่าง มีผลกระทบโดยตรงกับอัตราการไข่ การให้แสงสว่างไม่เพียงพอ แม่ไก่จะไข่ลดลง แม้ว่าเราจะให้อาหารครบทุกหมู่และการจัดการเรื่องอื่นๆ อย่างดี แสงเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนที่ใช้ในขบวนการผลิตไข่ของแม่ไก่ แสงสว่างที่พอเพียงควรมีความเข้ม 1 ฟตแคนเดิลในระดับตัวไก่ และต้องให้แสงสว่างวันละ 14-15 ชั่วโมงติดต่อกัน หากมากกว่านี้จะไม่เป็นผลดี ไก่ไข่ไม่เป็นเวลา กระจัดกระจาย บางครั้งไข่กลางคืน ไก่จะจิกกันมาก ตื่นตกใจง่าย และมดลูกทะลักออกมาข้างนอก
             การจัดแสงสว่างให้เป็นระบบต่อเนื่องกันวันละ 14-15 ชั่วโมง แม่ไก่จะไข่ก่อนเวลา 14.00 น. ทุกๆ วัน จากการเลี้ยงไก่หนุ่มสาวอายุ 15-20 สัปดาห์ เราจำกัดเวลาการให้แสงสว่างวันละไม่เกิน 11-12 ชั่วโมง แต่พอแม่ไก่เริ่มไข่ เราจะต้องเพิ่มเวลาให้แสงสว่างเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง จนถึงวันสุดท้ายวันละ 14-15 ชั่วโมง แล้วหยุดเพิ่มและรักษาระดับนี้ตลอดไปจนกว่าแม่ไก่จะหยุดไข่และปลดระวาง  การให้แสงด้วยหลอดไฟนีออนให้ผลดีกว่าหลอดไฟที่มีไส้ทังสเตนที่ใช้กันในบ้านเรือนทั่วไป เพราะใช้งานได้ทนกว่าและประหยัดไฟกว่า สำหรับสีของแสงควรเป็นสีขาว เพราะหาได้ง่ายราคาถูกและให้ผลดีกว่าสีอื่นๆ
            การคำนวณความเข้มของแสงเท่ากับ 1-2 ฟุตแคนเดิล (Footcandle) ในระดับกรงไก่หรือตัวไก่คำนวณได้จากสูตรดังนี้
            ความเข้มของแสง = แรงเทียนของหลอดไฟ x ระยะทางเป็นฟุตจากหลอดไฟถึงระดับหัวไก่ (เป็นฟุตแคนเดิล)
            โดยสรุปใช้หลอดไฟนีออน 40 วัตต์ ต่อพื้นที่ 200 ตารางฟุต ติดหลอดไฟสูงจากพื้นระดับเพดานคอก และวางหลอดไฟห่างจากกัน 10-14 ฟุต สำหรับเปิดไฟเสริมจากเวลา 18.00-21.00 น. ของทุกคืนเพื่อให้ได้แสงสว่างติดต่อกัน 14-15 ชั่วโมง

ตารางที่ 7  แสดงมาตรฐานปริมาณอาหารที่กินต่อวัน และอัตราการไข่ของแม่ไก่ที่อายุต่างๆ กัน เริ่มจากแม่ไก่ไข่ฟองแรกของไก่พื้นเมือง

อัตราการไข่
เดือนที่
อัตราการไข่ต่อเดือน
ฟอง
กินอาหาร
กรัม/ตัว/วัน
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
รวมไข่
5
10
1 1
12
12
10
9
9
9
8
8
8
111 ฟอง/ตัว/ปี
70
70
70
80
80
80
70
70
70
70
70
70
28.2 กก./ปี/ตัว

ตารางที่ 8  สูตรอาหารแม่ไก่ผสมพันธุ์

วัตถุดิบ
สูตรอาหาร
โภชนะในอาหาร
ความต้องการโภชนะ
1
2
3
1.ข้าวโพด
2. กากถั่วเหลือง 44%

3. ใบกระถินป่น
4. ปลาป่น 55%
5. เปลือกหอย
6. ไดแคลเซียม (P/18)
7. เกลือ
8. DL-เมทไธโอนีน
9. พรีมิกซ์แม่ไก่ไข่
10. สมุนไพร (กรัม)
60.5
24

4
-
8.5
2.1
0.5
0.1
0.3
180
63.5
21

4
-
8.5
2.1
0.5
0.1
0.3
180
66.06
14.63

4.00
5.00
8.50
1.00
0.50
0.06
0.25
180
1. โปรตีน
2. พลังงานใช้ประโยชน์
(กิโลแคลอรี/กก.)
3. ไขมัน
4. เยื่อใย
5. แคลเซียม
6. ฟอสฟอรัสใช้ได้
7. ไลโนเลอิค
8. ไลซีน
9. เมท + ซีส
10. ทริปโตเฟน
15-16
2,900.00

3-4
4-5
3.75
0.35
1.00
0.71
0.61
0.15

หมายเหตุ  -  อาหารไก่พ่อพันธุ์ให้ลดเปลือกหอย และไดแคลเซียมลงเหลือ 1.0 กก. และเพิ่มข้าวโพดขึ้นทดแทน นอกนั้นคงเดิม
                    -  สมุนไพร 180 กรัม ผสมจากฟ้าทะลายโจร 144 กรัม + ขมิ้น 7 กรัม + ไพล 29 กรัม เป็นน้ำหนักแห้ง   

 

กลับหน้าหลัก Back